วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จิตวิทยาด้านกราฟิกกับการออกแบบสื่อการสอน



1.เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดูอย่างไร
  ตอบ ภาพ สีขาวที่อยู่ในพื้นน้ำเงินจะทำให้ดูโตขึ้น 10-15 % สังเกตภาพตัวแจกันสีน้ำเงินและสีขาว แจกันทั้งสองทั้งสองโตเท่ากัน แต่เราจะรู้สึกว่า ภาพแจกันสีขาวที่อยู่บนพื้นสีน้ำเงิน ตัวใหญ่กว่า เทคนิคนี้นิยมนำไปใช้ทำตัวอักษรพาดหัวข่าวสำคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์


2.ให้นิสิตหาภาพ ความลึก (Perspective) พร้อมอธิบายความหมายของภาพ

ตอบ ภาพนี้ แสดงอารมณ์ที่หลากหลาย ความวุ่นวาย ความชลมุล ความไม่เป็นระเบีบบ

3.ให้นิสิตหาภาพ ความขัดแย้ง (Contrast) พร้อมอธิบายความหมายของภาพ
ตอบ ภาพนี้แสดง ความขัดแย้งด้วยสีคนละโทน แต่เป็นภาพที่เป็นไปในทางบวก คือมองแล้วเกิดรอยยิ้ม เกิดพลัง


จิตวิทยาสีของการออกแบบสื่อการสอน
  กิจกรรมหลังหน่วยการเรียนรู้ 
                                                กำหนดส่งทาง Weblog  ภายใน 29 ธ.ค. 2555

 1. ถ้าต้องการออกแบบและน้าเสนอ PowerPointถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ ควรใช้ใด ในการออกแบบเพราะเหตุใดจงอธิบาย                                                                                                                                                  
 ตอบ  การออกแบบถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ สีน้ำตาล ให้ความรู้สึก เก่าแก่โบราณ นึกย้อนถึง ชุมชนโบราณ วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดีควรใช้ตัวอักษรที่อ่านได้อย่างชัดเจน  อ่านง่าย ขนาดของตัวอักษรมีขนาดที่เห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ใช้ตัวอักษรสีสะท้อนแสง สีฉูดฉาด การใส่ภาพประกอบเรื่องราวหากไม่จำเป็นไม่ควรมีอักษรในภาพ ตัวอักษรที่ใช้ควรให้เงาเพื่อเพิ่มความคมชัด ส่วนสีของตัวอักษรหรือภาพประกอบที่ใช้ควรใช้สีใสบายตา ใช้รูปเป็นจุดเด่น สร้างความสนใจ และไม่ให้อารมณ์ไปทางใดทานหนึ่งจนเกินไป
2. ให้นิสิตหาภาพถ่ายหรือภาพวาดจาก Google Search ที่ใช้สีตัดกันมา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ

                               ภาพนี้แสดงถึงความมีพลัง มีความหวัง มองแล้วรู้สึกละมุน
ภาพนี้มีสีสันหลากหลาย เป็นรูปทานตะวัน มีสีแดงตรงกลาง ทำให้รู้สึกมีพลัง มีความหวัง ความหลากหลาย ความสดใส

  3. .ให้นิสิตหาตัวอย่างภาพจาก Google Search ในลักษณะการสร้างความกลมกลืน โดยใช้สีในลักษณะสภาพ

สีส่วนรวม (TONALITY OF COLOR) มา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ

ตอบเป็นภาพวิวที่ มีความกลมกลืนกันของสี แต่มีความโดดเด่นในตัวของมันเอง เมื่อมองดูภาพนี้แล้วมีทั้งความรู้สึกที่สบายตาสบายใจ เหมือนความรู้สึกที่มีในสีโทนเย็น แต่ภาพนี้ก็ยังให้ความรู้สึกสดใสมีชีวิตชีวาดึงเราออกจากความเครียดได้ เหมือนความรู้สึกที่มีในสีโทนร้อน ภาพนี้มีความสมดุลทั้งสี

ตอบ โทนสีที่กลมกลืนทาให้ภาพดูเรียบง่าย และทำให้จุดเด่นในภาพดูสะดุดตาได้อย่างง่ายดาย ดังเช่นภาพคนที่กำลังยืนชมทิวทัศน์ของทะเลทราย

 


สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา



                                                                       แบบฝึกหัด 
     1.  สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
                 ตอบ  1. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่น ๆ

                          2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และ ภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท

                          3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ ระบบ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย

                         4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางกายภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
                         5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
                        6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและอย่างรวดเร็


  2.  คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                    ตอบ   วิ ลเบอร์ ชแรมม์ นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อสารมวลชน ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ( Schramm 1964 : 144) ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด

  
    3 . ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ
           ตอบ รายการ สำรวจโลก ประโยชน์ที่ได้รับจากรายการนี้คือ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบโลกที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็น สิ่งมีชีวิต วัฒนธรรมต่างๆ นวัตกรรม ต่างๆ รอบโลก และอื่นๆอีกมากมาย และยังได้รับความเพลิดเพลินอีกด้วย
 

โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา Telecommunication for Education



แบบฝึกหัดให้นิสิตนำเสนอ กำหนดส่งทาง 
Weblog  ภายใน 29 ธ.ค. 2555


1. โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอย่างไรบ้าง
                       ตอบ โทร คมนาคม หมายถึง การส่งสารสนเทศในรูปแบบ ของตัวอักษร ภาพ เสียง โดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ
                   ประโยชน์ของโทรคมนาคมทางการศีกษา
               - ช่วยติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
               - ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ที่ผลิตออกมาในแต่ละวัน
               - ช่วยเก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าได้อย่างสะดวก
               - เพื่อประสิทธิภาพในการผลิตสารนิทศ
              - ลดอุปสรรคเกียวกับระยะเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ


2. การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่าง ประโยชน์ของ Facebook
                    ตอบ        facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา เพราะเป็นการที่ประชุมทางไกล เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อตอบ สนองความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันในแบบ RealTime ระหว่าง 2 กลุ่ม หรือมากกว่าซึ้งอยู่ห่างไกลกัน และทำให้ผู้ที่ห่างกันสามารถติดต่อสื้อสาร รับข้อมูลข่าวสารกันและกันได้ อีกด้วย




3. นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมด้วยวิธีใด
                ตอบ 
                     1. ระบบ DSTV เป็นระบบผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band
                     2. ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซึ่งสามารถรับชมได้ในเชตกรุงเทพมหานครปละจังหวัดปริมณฑล สามารถรับชมรายการได้ 7 ช่อง

4. ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ       ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-Of-Charge Web-Based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์

5. นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทย คมศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
              ตอบ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องของ ดาวเทียม มาตั้งแต่ครั้งที่ กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เริ่มใช้ดาวเทียม อินเทลสตาร์ เพื่อการติดต่อสื่อสารในปี 2510 และมีการสร้างสถานีภาคพื้นดินที่ ตำบลศุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ต่อมาในปี 2522 ได้มีการเช่าสัญญาณวงจรดาวเทียม ปาลาปา ของอินโดนีเซีย มาใช้เพื่อการสื่อสารภายในประเทศ และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทรงศึกษาและติดตามความก้าวหน้า ของวิทยาการดาวเทียมนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการนำดาวเทียม มาใช้เพื่อประโยชน์ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาการใช้ที่ดินในแหล่งต้นน้ำลำธารบนภูเขาสูง รวมถึงการใช้ดาวเทียมตรวจสอบสภาพอากาศ ซึ่งต่อมาหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้น้อมนำแนวพระราชดำริไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ และการพยากรณ์อากาศ
6. ให้นิสิตโพสรูปเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา
 

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้


1. ให้นิสิตบอกความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่อการเรียนระดับ
ปริญญาตรีสาขาศึกษาศาสตร์

ตอบ การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียนจะเป็นสิ่งที่ จะเป็นสิ่งที่สนับสนุนทำให้ผู้เรียนมีความรู้สึกที่อยากเรียนและเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีหลายประการได้แก่
1.      สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสม เช่นห้องเรียนมีความสะดวกสบาย มีอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนครบถ้วน ทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน ผู้สอนก็มีความสุขในการสอน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยความราบรื่น สะดวก รวดเร็ว ตามแผนที่วางไว้
2.      สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนการเรียนรู้หลายด้านเช่น ทำให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียนให้มีความสนใจและเกิดแรงจูงใจในการเรียนเปลี่ยนเจตคติไปในทางที่ดี มีความพึงพอใจในการเรียนช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปัจจัยสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนก็คือความรู้สึกที่เกิดจากตัวผู้เรียน ความรู้สึกพึงพอใจ สนใจ อยากเรียน อยากรู้ ซึ่งจะเป็น ตัวการนำไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด ดังนั้นถ้าผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านกายภาพ จิตภาพ และทางด้านสังคมภาพแล้ว จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกดังกล่าวได้
3.      สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ช่วยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียนประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ตามปกติแล้วการรับรู้และการเรียนรู้ของผู้เรียนจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้ปะทะสัมพันธ์กับสิ่งภายนอกที่มากระตุ้นประสาทสัมผัสของผู้เรียน การปะทะสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ เป็นการสร้างประสบการณ์ ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีก็ต้องจัดให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีก่อนแล้วสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านั้นจะเป็นตัวกำหนดประสบการณ์ของผู้เรียนภายหลัง
4.      สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการจัดการศึกษาประการหนึ่งก็คือมุ่งให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพดี มีการแสดงออกทางกาย วาจาและใจตามแบบอย่างที่สังคมยอมรับกล่าวคือมีคุณธรรม และจริยธรรมที่เป็นเครื่องหมายของคนดี มีการประพฤติ ปฏิบัติสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดี การที่จะหล่อหลอมพฤติกรรม หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์นั้นต้องใช้เวลา และอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน จึงจะสามารถกล่อมเกลาผู้เรียนได้ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยปรับหรือโน้มน้าวพฤติกรรมของผู้เรียนโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร มีความเป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ตัดสินปัญหาด้วยเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้จะค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไปในความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียน สะสมทีละน้อยจนในที่สุดก็จะแสดงออกในลักษณะของบุคลิกภาพรูปแบบในการรับรู้ ตลอดจนค่านิยมต่าง ๆ ของผู้เรียน
5.      สภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีส่วนช่วยในการควบคุมชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นตัวกำหนดอาณาเขตของการเรียน ทำให้มีบรรยากาศที่แตกต่างไปจากกิจกรรมอื่น ยกตัวอย่างเช่น ลักษณะของสภาพแวดล้อมในสถานเริงรมย์ ผู้เรียนเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมทางการเรียนที่จัดไว้อย่างเหมาะสม ก็จะรู้จักสำรวมอยู่ในระเบียบวินัยมากขึ้น โดยเฉพาะถ้ามีการจัดโต๊ะ เก้าอี้ ของนักเรียนอย่างมีวัตถุประสงค์ จะช่วยให้การควบคุมชั้นเรียนมีระบบระเบียบ และง่ายสำหรับผู้สอนมากขึ้น
6.      สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นแหล่งทรัพยากรทางการเรียน การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง หลายแหล่งเห็นความสำคัญของมุมวิชาการ ศูนย์วิชาการ มุมสื่อการเรียนการสอน ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ตลอดเวลาที่ต้องการ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบยึดเด็กเป็นศูนย์กลางได้อย่างดี นอกจากนี้แหล่งทรัพยากรการเรียนจะช่วยพัฒนาความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนตลอดจนเป็นการสร้างนิสัยให้ใฝ่เรียนใฝ่รู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ไม่ยึดติดอยู่เฉพาะความรู้ที่ได้จากผู้สอน
7.      สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสริมสร้างบรรยากาศในการเรียน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีจะทำให้บรรยากาศในการเรียนเอื้อต่อการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีความสะดวกสบาย สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน  จะช่วยสร้างบรรยากาศทางวิชาการให้เกิดขึ้นทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้หรือทำกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ อย่างตั้งใจและมีสมาธิ ยิ่งถ้าผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นซึ่งจัดว่าเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านจิตภาพมีบุคลิกลักษณะที่อบอุ่น เป็นมิตร ก็จะยิ่งทำให้บรรยากาศในการเรียนการสอนเป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์มากยิ่งขึ้น
8.      สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษา แนะแนวทางสภาพแวดล้อมเช่นนี้ช่วยให้ผู้สอนมีความใกล้ชิดกับผู้เรียนมากขึ้น ทำให้ได้รู้จักอุปนิสัย ตลอดจนพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ดี ส่วนผู้เรียนจะลดความกลัว และมีความกล้ามากขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอน
9.      สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมจะช่วยลดความเมื่อยล้า หรือความอ่อนเพลีย ทางด้านสรีระของผู้เรียนเช่นการจัดโต๊ะเก้าอี้ที่มีขนาดพอเหมาะกับร่างกายของผู้เรียนช่วยให้การนั่งสบายสามรถนั่งได้นาน ๆ โดยไม่ปวดหลัง การให้แสงสว่างในห้องเรียนที่เหมาะ จะช่วยให้ผู้เรียนคลายความเมื่อยล้าของสายตา นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาด้วย
2. การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษา จัดอยู่ในองค์ประกอบใดของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เพราะเหตุใด
ตอบ  สภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ มีสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้เรียน ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ส่งผลต่อผู้เรียนทั้งทางบวกและทางลบ และมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่ถูกสุขลักษณะ มีแสงสว่างพอเพียง สะอาด สงบ อากาศถ่ายเท มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีคุณภาพเหมาะสมและสนับสนุนการเรียนรู้ มีบรรยากาศในการเรียนที่ดี ก็จะส่งผลทางบวกต่อผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความตั้งใจและกระตือรือร้นในการเรียน หากบรรยากาศเต็มไปด้วยความสกปรกรกรุงรัง สกปรก เต็มไปด้วยข้าวของที่ไม่เป็นระเบียบ ก็จะส่งผลทางลบต่อผู้เรียนทำให้บรรยากาศในการเรียนเต็มไปด้วยความเคร่งเครียด ผู้สอนก็จะรู้สึกท้อถอย ไม่เป็นผลดีต่อการเรียนการสอน
การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียนจะเป็นสิ่งที่ จะเป็นสิ่งที่สนับสนุนทำให้ผู้เรียนมีความรู้สึกที่อยากเรียนและเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
3. ให้นิสิตยกตัวอย่างการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ รายวิชา 400202 เทคโนโลยีการศึกษา ตามองค์ประกอบของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
ตอบ ลักษณะของสภาพแวดล้อมในห้องเรียนรายวิชา 400202 เทคโนโลยีการศึกษา ตามองค์ประกอบของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ คือห้องเรียนมีความสะดวกสบาย มีอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนครบถ้วน การเรียนทำให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียนให้มีความสนใจและเกิดแรงจูงใจในการเรียนเปลี่ยนเจตคติไปในทางที่ดี การแสดงความคิดเห็นในการเรียนการสอนต้องมีความเป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการจัดโต๊ะ เก้าอี้ ของนักเรียนอย่างมีวัตถุประสงค์ จะช่วยให้การควบคุมชั้นเรียนมีระบบระเบียบ และง่ายสำหรับผู้สอนมากขึ้น มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ไม่ยึดติดอยู่เฉพาะความรู้ที่ได้จากผู้สอน ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีความสะดวกสบาย สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน  จะช่วยสร้างบรรยากาศทางการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้หรือทำกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ อย่างตั้งใจและมีสมาธิ ยิ่งถ้าผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นซึ่งจัดว่าเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านจิตภาพมีบุคลิกลักษณะที่อบอุ่น เป็นมิตร ก็จะยิ่งทำให้บรรยากาศในการเรียนการสอนเป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์มากยิ่งขึ้น การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ทำให้มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอน การให้แสงสว่างในห้องเรียนที่เหมาะ จะช่วยให้ผู้เรียนคลายความเมื่อยล้าของสายตา
4. ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้ออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ นิสิตจะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ตามองค์ประกอบ 4 ด้านอย่างไร จงอธิบาย

จากภาพการ์ตูนที่เป็นจินตนาการ พบว่าในห้องปฏิบัติการนั้น ไม่ได้มีการปฏิบัติการในกลุ่มวิชาเดียว แต่จะรวมทุกกลุ่ม เช่น ชีวะ เคมีและฟิสิกส์ อยู่ในห้องเดียวกัน  แต่ถ้าสังเกตุที่มุมห้องจะพบว่ามีคอมพิวเตอร์อยู่ตามมุมห้อง และมีหนังสือค้นคว้าอ้างอิงอยู่ในห้องปฏิบัตการนี้เลย ซึ่งห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เป็นลักษณะ คือภายในห้องปฏิบัติการต้องสามารถทำการทดลองได้ในทุกกลุ่มวิชา เคมี ชีวะ ฟิสิกส์ หรือเรียกรวมๆว่าห้องวิทยาศาสตร์ทั่วไป หรือวิทยาศาสตร์กายภาพ โรงเรียนขยายโอกาส  โรงเรียนระดับประถม และมัธยมขนาดเล็กควรจัดห้องลักษระนี้

       
      การจัดห้องปฏิบัติการแนวใหม่นั้น ไม่ใช่ว่ามีไว้เพื่อการทดลองเท่านั้น แต่การจัดห้องปฏิบัติการแนวใหม่ต้องเป็นทั้งห้องเรียน ห้องสอนเนื้อหาด้วยเมื่อนักเรียนมีข้อสงสัย ตามขบวนการเรียนวิทยาศาสตร์ นักเรียนต้องสามารถค้นหาคำตอบได้ภายในห้องปฏิบัติการนั้นได้เลย โดยการค้นคว้าจากระบบเครือข่าย  ค้นหาคำตอบจากการทดลอง หรือแม้แต่จากการบอกของครู ควรอยู่ในห้องนี้แบบเบ็ดเสร็จ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ห้องปฏิบัติการ แนวใหม่จะจัดอุปกรณ์การทดลองไว้ที่มุมห้อง เหลือเนื้อที่ตรงการไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับครูและนักเรียน หรือมาสรุปผลการทดลองร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่เราเคยพูดกัน  และที่ต่างจากที่เราเคยปฏิบัติกันก็คือ นักเรียนอาจทดลองตามที่นักเรียนสงสัย อาจไม่เหมือนกัน แต่ในเรื่องเดียวกัน เช่นการเจริญเติบโตของพืช  นักเรียนอาจจะหาพืชในรูปแบบต่างกัน ไม่ใช่เพาะผักบุ้งกันทั้งห้อง  แต่นักเรียนอาจเพาะผักบุ้ง  ถั่ว มะขาม  ฯลฯ แล้วผลสุดท้ายนักเรียนทุกคนต้องมาสรุปรวมร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีพื้นที่ว่างไว้ไม่ใช่แค่ส่งรายงานเป็นอันจบ

 
     การ ออกแบบ ตู้และโต๊ะ การทดลองไว้ที่มุมห้อง ก็อาจเป็นดังภาพ  ลักษณะตู้จะใช้เก็บอุปกรณ์และเครื่องมือได้

 
        ภาพห้องปกิบัติการ 2 ห้องนี้ ภาพทางขวาเราคงชินเพราะพบเห็นทั่วไป เลิกเรียนก็ยกขเก้าอี้ขึ้นนไว้บนโตะ เป็นแบบนี้มาจนทุกวันนี้ แต่ถ้าดูภาพทางซ้าย เก้าอี้ก็เปลี่ยนไปยกขึ้นเหมือนกันแต่ต่างกัน โตะ พื้นสะอาดเหมือนกัน  แต่ก็ลองตัดสิ้นใจซิครับว่า ห้องปฏิบัติการควรปรับปรุงออกมาเป็นลักษณะใดบ้าง เพราะปัจจุบันนี้มีงบประมาณให้ปรับปรุงห้องวิทย์ หลายโรงบอกมีเรีบยร้อยแล้ว  ถ้าโรงเรียนบางโรงไม่มีอาคารหรือห้องเรียนเพียงพอที่จะจัดห้องปฏิบัติการลองดูภาพ ข้างล่างนี้

 

5. แนวคิดเชิงทฤษฎีในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ แนวคิดเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมจำเป็นจะต้องอาศัยแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ มาใช้เพื่อให้การออกแบบพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีระบบ แม่นยำ และเชื่อถือได้ โดยแนวคิดสำคัญมีดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง ได้แก่แนวคิดเชิงปรัชญาการศึกษา ปรัชญาการศึกษาจะเป็นสิ่งบ่งชี้นโยบายในการจัดการศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องดำเนินไปให้สอนคล้องกับนโยบายนั้นๆ
ประการที่สอง เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาอันได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม ตลอดจนจิตวิทยาในการทำงาน หลักการต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยานี้จะช่วยให้เข้าใจพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย การเรียนรู้การรับรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร สภาพแวดล้อมที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ได้ดีควรเป็นอย่างไร
ประการที่สาม เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีการสื่อสารเนื่องจากการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารหรือเป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหลักการต่าง ๆ ของการสื่อสารจะช่วยในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่นหลักการที่ว่าการสื่อความหมายจะได้ผลดีต่อเมื่อ ผู้รับเกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่ง ดังนั้นผู้สอนควรทำอย่างไร จะใช้สื่อชนิดใด หรือจัดสถานการณ์อย่างไรจึงจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ในที่สุด
ประการที่สี่ เป็นแนวคิดเชิงเทคโนโลยีการศึกษา เป็นแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ไม่เพียงแต่อาศัยสื่อประเภทวัสดุ อุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังอาศัย เทคนิค วิธีการตลอดจนแนวคิดต่างๆ เพื่อมาปรุงแต่งสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เป็นที่น่าสนใจ หรือเร้าความสนใจของผู้เรียน
ประการที่ห้า แนวคิดเชิงเออร์โกโนมิกส์ (ergonomics) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน G.F. McVey แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เออร์โกโนมิกส์และการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มาเป็นเวลานานเพื่อค้นหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพลักษณะใดจงจะเหมาะกับผู้เรียนในแต่ละระดับ เช่น ความกว้าง ความสูง ของโต๊ะ เก้าอี้ ขนาดของห้องเรียน ขนาดของห้องฉายการติดตั้งจอ ระบบเสียงในห้องเรียน ห้องฉาย สภาพแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ เหล่านี้ควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะเอื้ออำนวยความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน